หากจะพูดถึงตำนานของการเล่นโขน เราคงต้องพูดคุยย้อนกลับไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โขนนั้นเชื่อกันว่าเริ่มมีการแสดงกันตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 จากการศึกษาตามหลักฐานต่าง ๆ ที่สามารถค้นพบได้ โดยอาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์ที่เหล่าคนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีหลักฐานตามแหล่งโบราณคดีหลาย ๆ แห่ง และจากการศึกษาตำนานการแสดงโขนในกฏมณเฑียรบาล

ใครสามารถแสดงโขนได้บ้าง

แรกเริ่มเดิมที การแสดงโขนนั้นจะเป็นการแสดงเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก นักแสดงจะต้องเป็นผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ เหล่าคนธรรมดาจะไม่สามารถเข้าร่วมแสดงโขนได้และกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยยังมีความเชื่อกันอีกว่าการฝึกหัดการแสดงโขนนั้นจะทำให้ชายหนุ่มมีความคล่องแคล่ว แข็งแรง และว่งอไวในการรบอีกด้วย และด้วยเหตุนี้เองตามประเพณีเดิมจึงสงวนไว้เพียงแค่เหล่าชายหนุ่มเท่านั้นที่สามารถฝึกหัดการเล่นโขนได้ (อย่างไรก็ตามผู้หญิงที่สามารถเช่นโขนนั้น จะต้องเป็นหญิงในพระมหากษัตริย์เท่านั้น)

เมื่อถึงคราวความนิยมของโขนเสื่อมโทรมลง

เนื่องจากการคัดเลือกเฉพาะเหล่าเจ้าขุนมูลนายในการเล่นโขน และการเลือกเอาเฉพาะคนพวกลูกหมู่ รวมถึงการนำลูกทาสมาหัดโขน จึงทำให้ผู้คนเริ่มมองว่าการแสดงโขนนั้นเป็นการแสดงที่ต่ำเกียรติ และเหตุผลอีกประการคือการที่เริ่มอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถฝึกหัดเพื่อการแสดงโขนได้ จึงทำให้เจ้าสำนักเดิมคงเหลืออยู่ไม่กี่สำนักเท่านั้นที่ยังยึดหลักประเพณีเดิม โขนในสำนักของเจ้าขุนมูลนายจึงเริ่มเสื่อมถอยลงและค่อย ๆ สูญหายไป

แต่ในปัจจุบัน การเล่นโขนนั้นได้เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น โดยมีการเปิดกว้างให้เหล่าสามัญชนสามารถฝึกหัดโขนได้