การแสดงโขนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 หรือในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและสืบเนื่องยาวนานมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปัจจุบันองค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนการแสดงโขนไทยให้เป็นมรดกโลกแล้ว

แต่อย่างไรก็ดี ยุคสมัยของการแสดงโขนไทยนั้นก็ผ่านทั้งยุครุ่งเรืองและยุคแห่งความเสื่อมโทรมมาแล้วด้วยเช่นเดียวกัน หากต้องการศึกษาการแสดงโขนไทยอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ ก็ควรศึกษาถึงความเป็นมาในประวัติเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของโขนไทย

หากพูดถึงยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองในการแสดงโขนนั้น คงจะหนีไม่พ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งโปรดให้เหล่าเจ้านายชั้นสูงและขุนนางชั้นผู้ใหญ่เข้ารับการฝึกฝนการเล่นโขนเพื่อเป็นเกียรติแก่วงตระกูลและตนเอง แต่หากจำกัดการฝึกนี้ไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้นตามความเชื่อว่าเหล่าชายใดที่ฝึกฝนการเล่นโขนจะทำให้มีความแข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว และสามารถใช้อาวุธต่าง ๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังโปรดให้จัดการแสดงโขนให้ได้ชมกันอีกด้วย ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งสำนักฝึกหัดโขนขึ้นหลายสำนัก นับได้ว่ายุคนี้เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองของการแสดงโขนอย่างแท้จริง

ยุคสมัยแห่งความเสื่อมโทรมของโขนไทย

เมื่อผ่านยุครุ่งเรืองของการแสดงโขนไทยมาแล้วก็มาถึงยุคเสื่อมโทรมของโขนไทย โดยเริ่มจากสมัยรัชกาลที่ 6 ที่โขนไทยมีความเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุด ต่อมาก็เริ่มมีผู้นำเอาโขนไปรับจ้างแสดงในงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานที่จัดขี้นทั่วไปเพียงเพื่อหวังค่าตอบแทน จนทำให้ถูกวิจารณ์ว่าการแสดงโขนนั้นไม่เหมาะสมกับฐานะผู้แสดงและถูกมองไปในทางที่ไม่ดี ส่งผลให้ความนิยมของการชมโขนลดลงอย่างรวดเร็ว

เมื่อได้ทราบและเข้าใจในประวัติความเป็นมาของโขนมากขึ้นแล้ว ความรักและหวงแหนในการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยก็เพิ่มมากขึ้นด้วย